วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                การสื่อสาร (communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสารหรือสื่อระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ โดยส่งผ่านช่องทางนำสารหรือสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน                การสื่อสารข้อมูล (datacommunication) หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักจะอยู่ห่างไกลกัน และจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (telecommunication) เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล                เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้นองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบ ดังนี้
1. ข่าวสาร (message) ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทำการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้ 
2. ผู้ส่ง (sender) เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม (modem) จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม เป็นต้น
3. ผู้รับ (receiver) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ โมเด็ม จานดาวเทียม เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
4. สื่อกลางหรือตัวกลาง (media) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำข่าวสารรูปแบบต่างๆจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (protocol) เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะ กฎระเบียบ หรือวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกัน และสามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
ชนิดของโปรโตคอล

1.ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP)
2.เอฟทีพี (FTP)
3.เอชทีทีพี (HTTP)
4.เอสเอ็มทีพี (SMTP)
5.พีโอพีทรี (POP3)
6. ซอฟต์แวร์ (software) เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Windows XP/Vista/7, Unix , Internet Explorer , Windows Live Message เป็นต้น
สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์
1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
– สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)
เป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะ
หรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
ในรูปแบบของแสง
2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
ภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
 network topology
การถ่ายโอนข้อมูล
1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)
การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม
อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น

สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูล
1.สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
– สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP)
1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูล
1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูล
2.สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง
ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร

2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานี
2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)
ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ
5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)
 ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายเมือง  (Metropolises Area Network :MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)
4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย
1.การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้
2. การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)  เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
4. เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน
อุปกรณ์เครือข่าย
1. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย
2. โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
3. การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN
4. สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว
5. เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้
การถ่ายโอนข้อมูล
1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)

การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม
อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประเภทของแอนิเมชั่น

ประเภทของแอนิเมชั่น 

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 

        1. การสร้างงานแอนิเมชั่นแบบดั่งเดิม (Traditional Animation หรือ Drawn Animation) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวภาพยนตร์มากที่สุด เป็นการสร้างชิ้นงานแอนิเมชั่นด้วยภาพวาดซึ่งจะมีการวาดภาพลงบนกระดาษก่อน เพื่อสร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว แต่ละรูปวาดจะแตกต่างกันเล็กน้อย หลายพันภาพ และฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องบันทึกภาพ หรือกล้องวิดีโอ การทำแอนิเมชั่นต้องอาศัยความสามารถทางศิลปะในการวาดภาพอย่างมาก จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการผลิตนานและต้นทุนในการผลิตจึงสูงตามไปด้วย 

        2. การสร้างแอนิเมชั่นแบบสต๊อปโมชั่น (Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation) เป็นการสร้างหุ่นจำลองขึ้นมาหรือใช้สิ่งของแล้วค่อยๆ ขยับ พร้อมกับถ่ายภาพนั้นที่ละภาพ ที่พบมากได้แก่ ภาพเคลื่อนไหวแบบหุ่นเชิด ภาพเคลื่อนไหวดินน้ำมัน ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้มักจะเป็นดินน้ำมัน ปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ โดยมีเส้นลวดเสมือนเป็นโครงกระดูกอยู่ภายในหุ่นที่ปั้นและทำให้สามารถนำมาใช้งานได้หลายครั้ง แอนิเมชั่นแบบนี้ต้องอาศัยเวลา ความอดทนและความสามารถมากต้องใช้ทักษะทางศิลปะการปั้น และการถ่ายภาพ ทั้งนี้เพราะหุ่นจ าลอง หรือสิ่งของประกอบฉากนั้น หลายๆสิ่งมีการขยับหรือเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน ในหนึ่งภาพ ดังนั้นหากต้องการแสดงความสมจริงจำเป็นต้องอาศัยความละเอียดในการกำหนดการเคลื่อนไหวเพื่อที่จะสร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหวแต่ละภาพ   

        3. การสร้างแอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Animation) เป็นกระบวนการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น ทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนเป็นอย่างมาก โปรแกรมที่นิยมใช้ในการผลิตงานแอนิเมชั่นเช่น โปรแกรม Maya, Abode Flash, Lightwave, modo, Anime Studio และ 3D Studio Max เป็นต้น   


ประเภทของภาพเคลื่อนไหว แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 

       1. ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ (2D Animation ) สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง  
            
        2. ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ (3D Animation) สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก  



                            https://sites.google.com/site/ch888as/prapheth-khxng-xae-ni-me-chan

ผลกระทบต่อประเทศอาเซียน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน

               การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเป็นปรากฏการณ์จากภาวะโลกร้อน มีสาเหตุจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องมานับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและทวีจำนวนมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่าจะหยุดยั้งลงได้อย่างไร ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตลดการบริโภคพลังงานฟอสซิลลงได้ แม้ว่าจะมีความพยายามในการใช้กลไกระเบียบโลกที่มีอยู่ตามข้อตกลงนานาชาติ เพื่อที่จะควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งข้อตกลงที่สำคัญ ได้แก่ พิธีสารเกียวโตก็เพียงแต่มีผลในการชะลอภาวะโลกร้อนออกไปได้บ้างเท่านั้นยังไม่มีวี่แววว่าจะบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย
              ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของอาเซียนเพราะผลกระทบที่นับวันทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เกษตรกรรม ความมั่นคงและเศรษฐกิจ นอกเหนือไปที่ทำให้คนจนต้องจนลงไปอีก โลกร้อนทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคกว้างขึ้นกว่าเดิม และนั่นเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558
   
              ปัญหาโลกร้อนจะทำให้เป้าหมายของอาเซียนที่จะนำพาภูมิภาคให้พ้นจากความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องที่ยากมาก เราจึงต้องแก้ไขเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน แม้ว่าจะมีความยากลำบากและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในทันที แต่การเจรจาของสหประชาชาติและพิธีสารเกียวโตก็เป็นแนวทางระหว่างประเทศเพียงแนวทางหนึ่งเดียวในขณะนี้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุมทั้งโลก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะผลักดันกระบวนการนี้ต่อไป เพราะเราไม่สามารถแก้ปัญหาขนาดใหญ่อย่างนี้ได้ด้วยการกระทำในระดับรัฐหรือปัจเจกเท่านั้น

              การประชุมโลกร้อนที่แคนคูน ประเทศเม็กซิโก ปี พ.ศ.2553 แม้ว่าอาเซียนจะแสดงจุดยืนร่วมกันต่อกรณีการเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% ภายในปี พ.ศ.2563 แต่ผลการประชุมที่เมืองแคนคูนยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ในปริมาณดังกล่าว รวมถึงขาดการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนของแต่ละประเทศที่จะมีส่วนร่วมในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้ร้อนเกิน 2 องศา ตามที่เคยกำหนดไว้ในพิธีสารเกียวโตซึ่งจะหมดอายุลงในปี พ.ศ.2555
               สรุปประเด็นสำคัญที่อาเซียนจะต้องตระหนักคือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเนื่องจากภาวะโลกร้อนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงพ้นได้ การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอาจผิดแผกแตกต่างไปจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและพบเห็นในปัจจุบัน อาเซียนต้องเตรียมตัวให้สามารถอยู่ได้ภายใต้สถานการณ์ในอนาคต หรือมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงได้มากขึ้น การคิดถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกโดยเน้นประเด็นเรื่องลดโลกร้อนนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีและควรช่วยกันทำแต่ก็ไม่อาจเพียงพอต่อการแก้ปัญหา การช่วยกันคนละเล็กละน้อย (ถือถุงผ้า-ดับไฟ) นั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ เราต้องปรับทัศนคติสังคมโดยต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ปรับวิถีชีวิต ปรับยุทธศาสตร์ประเทศ ชุมชน และธุรกิจ ให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น หรือมีขีดความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
คลื่นความร้อน 
http://envinat-ac.aseangreenhub.in.th/en/geographysection/8-environment

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

        บรรยากาศของโลกเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา  ภูมิอากาศของโลกจึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง ขึ้นอยู่กับปัจจัยสาเหตุนานาประการ ตัวอย่างเช่น การระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงช่วงเดือนหรือปี การพุ่งชนของอุกกาบาตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายสิบปี การเพิ่มขึ้นของมลภาวะทางอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับศตวรรษ การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรและขนาดของแผ่นน้ำแข็ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของวงโคจรโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบนับล้านปี การเคลื่อนที่ของทวีปและการเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนับพันล้านปี ดังกราฟในภาพที่1


ภาพที่ 1 ปัจจัยและคาบการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก



ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง


        ปัจจัยที่ทำให้ ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง (Climate change) มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ และวงโคจรของโลก ปัจจัยภายในได้แก่ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของแก๊สในบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก ซึ่งสรุปรวมได้ดังนี้
  • พลังงานจากดวงอาทิตย์
  • วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  • องค์ประกอบของบรรยากาศ
  • กระแสน้ำในมหาสมุทร
  • อัลบีโด หรือความสามารถในการสะท้อนแสงของบรรยากาศและพื้นผิวโลก
  • แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก
  • การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก 
        ทุกปัจจัยที่กล่าวมาล้วนมีผลกระทบต่อบรรยากาศโลกโดยตรง และมีผลกระทบต่อกันและกันเหมือนห่วงลูกโซ่ ซึ่งยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม ดังที่แสดงในภาพที่ 2



ภาพที่ 2 ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง




        พลังงานจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงเนื่องจากดวงอาทิตย์มีขนาดไม่คงที่ ในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะดวงอาทิตย์มีขนาดเล็กและมีแสงสว่างน้อยกว่าปัจจุบัน ดวงอาทิตย์ขยายตัวใหญ่ขึ้นเนื่องจากการฟิวชันไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ทำให้พื้นที่ผิวของดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้น ความสว่างก็ยิ่งมากขึ้นตามด้วย อีกประมาณ 5 พันล้านปี ดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่เท่าวงโคจรของดาวอังคารนอกจากนี้ปริมาณและพื้นที่ของจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ในแต่ละวันยังไม่เท่ากัน ดวงอาทิตย์จะมีจุดมากเป็นวงรอบทุกๆ 11 ปี ส่งผลกระทบต่อพลังงานที่โลกได้รับด้วย


วัฏจักรมิลานโควิทช์


        ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ชาวเซอร์เบียชื่อ มิลูติน มิลานโควิทช์ (Milutin Milankovitch) ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเป็นคาบเวลาระยะยาว เกิดขึ้นจากปัจจัย 3 ประการคือ
  1. วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เปลี่ยนแปลงขนาดความรี (รีมาก - รีน้อย) เป็นวัฏจักร 96,000 ปี เมื่อโลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์อุณหภูมิก็จะสูงขึ้น เมื่อโลกอยู่ไกลอุณหภูมิก็จะต่ำลง
  2. แกนหมุนของโลกส่าย (เป็นวงคล้ายลูกข่าง) รอบละ 21,000 ปี ทำให้แต่ละพื้นที่ของโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี
  3. แกนของโลกเอียงทำมุมระหว่าง 21.5
    °
     - 24.5
    °
     กับระนาบของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ กลับไปมาเป็นวัฏจักร 41,000 ปี แกนของโลกเอียงเป็นสาเหตุทำให้เกิดฤดูกาล ปัจจุบันแกนของโลกเอียง23.5
    °
      หากแกนของโลกเอียงมากขึ้น ก็จะทำให้ขั้วโลกได้รับแสงอาทิตย์มากขึ้นในฤดูร้อนและน้อยลงในฤดูหนาว ซึ่งมีผลทำให้ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากขึ้น 
        กราฟในภาพที่ 3 แสดงให้เห็นอิทธิพลของปัจจัยทั้งสามทำให้ภูมิอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงและต่ำสลับกันไปเป็นวัฏจักร โดยที่แต่ละคาบนั้นมีระยะเวลาและความรุนแรงไม่เท่ากัน


ภาพที่ 3 ปัจจัยของวัฏจักรมิลานโควิทช์



องค์ประกอบของบรรยากาศ
          
        สัดส่วนของแก๊สในบรรยากาศไม่ใช่ค่าคงที่ แต่ก่อนบรรยากาศของโลกเต็มไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แก๊สออกซิเจนเพิ่งจะเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงของคลอโรฟิลล์ในสิ่งมีชีวิตเมื่อประมาณ 2 พันปีที่แล้วมานี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน "อิทธิพลของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อบรรยากาศ")  แก๊สบางชนิดมีผลกระทบต่ออุณหภูมิของบรรยากาศโดยตรง เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และมีเทน เนื่องจากเป็นแก๊สเรือนกระจก  อย่างไรก็ตามแก๊สบางชนิดไม่มีผลกระทบต่ออุณหภูมิของบรรยากาศโดยตรง แต่จะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและองค์ประกอบทางเคมีของบรรยากาศ เช่น ออกซิเจนและโอโซน


ภาพที่ 4 การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของบรรยากาศ



กระแสน้ำในมหาสมุทร


        น้ำในมหาสมุทรมีหน้าที่ควบคุมภูมิอากาศโดยตรง ความชื้นในอากาศมาจากน้ำในมหาสมุทร ความเค็มของน้ำทะเลมีผลต่อความจุความร้อนของน้ำ การไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทรจึงมีผลกระทบต่อภูมิอากาศบนพื้นทวีปโดยตรง   ระบบการไหลเวียนของกระแสน้ำใต้มหาสมุทรที่เรียกว่า “แถบสายพานยักษ์” (Great conveyor belt)  สร้างผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก เป็นวงรอบ 500 – 2,000 ปี  (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน "กระแสน้ำในมหาสมุทร")




ภาพที่ 5 แถบสายพานยักษ์

อัลบีโด



        อุณหภูมิของพื้นผิวและบรรยากาศของโลกจะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับ 




อัลบีโด หรือ



ความสามารถในการดูดกลืนและสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ แผ่นน้ำแข็ง ก้อนเมฆ สะท้อนรังสีคืนสู่อวกาศ และฝุ่นละอองที่แขวนลอยในอากาศ ทำให้พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิต่ำ ขณะที่ป่าไม้และน้ำดูดกลืนพลังงาน ทำให้พื้นผิวมีอุณหภูมิสูง เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิว ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิด้วย 


แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก



        ร้อยละ 75 ของน้ำจืดบนโลก สะสมอยู่ที่เกาะกรีนแลนด์ในมหาสมุทรอาร์คติกและบนทวีปแอนตาร์คติก ในรูปของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก หากแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกทั้งสองละลายหมดจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 66 เมตร พื้นที่เกาะและบริเวณชายฝั่งจะถูกน้ำท่วม อัลบีโดของพื้นผิวและปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่ในน้ำทะเลจะเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศ 


การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก



        เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง  กระบวนการธรณีแปรสันฐาน หรือ เพลตเทคโทนิคส์ (Plate Tectonics) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างบนผิวโลก อันเป็นปัจจัยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เช่น แก๊สจากภูเขาไฟ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบรรยากาศ ฝุ่นละอองภูเขาไฟกรองรังสีจากดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัลบีโด และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต


การศึกษาบรรยากาศของโลกในอดีต



        ในการพยากรณ์อากาศนั้น นักอุตุนิยมวิทยาได้ข้อมูลอากาศมาจากสถานีตรวจอากาศภาคพื้นประกอบกับข้อมูลจากบอลลูน เครื่องบิน และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  อย่างไรก็ตามในการสืบค้นข้อมูลสภาพอากาศในอดีตนับหมื่นหรือแสนปีนั้น นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาจากฟองแก๊สซึ่งถูกกักขังไว้ในแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก เมื่อหิมะตกลงมาทับถมบนพื้นผิว มันจะมีช่องว่างสำหรับอากาศ กาลเวลาต่อมาหิมะที่ถูกทับถมตกผลึกเป็นน้ำแข็งกักขังฟองแก๊สไว้ข้างใน (ดังที่แสดงในภาพที่ 6) เพราะฉะนั้นแผ่นน้ำแข็งแต่ละชั้นย่อมเก็บตัวอย่างของบรรยากาศไว้ในยุคสมัยที่แตกต่างกัน ยิ่งเจาะน้ำแข็งลงไปลึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้ฟองอากาศเก่าแก่โบราณมากขึ้นเท่านั้น วิธีการตรวจวัดเช่นนี้สามารถได้ฟองอากาศซึ่งมีอายุถึง 110,000 ปี สถานีขุดเจาะแผ่นน้ำแข็งเพื่อการวิจัยบรรยากาศที่สำคัญมี 2 แห่งคือ ที่เกาะกรีนแลนด์ ในมหาสมุทรอาร์คติกใกล้ขั้วโลกเหนือ และที่สถานีวิจัยวอสตอคในทวีปแอนตาร์คติกใกล้ขั้วโลกใต้


ภาพที่ 6 การกักขังฟองแก๊สของแผ่นน้ำแข็ง


        นักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจวัดอายุของฟองแก๊ส โดยการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแก๊สและฝุ่นละอองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ทางธรณีในยุคนั้น  หรือไม่ก็ใช้การตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีของคาร์บอนในฟองแก๊ส  ภาพที่ 7 แสดงให้เห็นถึงปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ในบรรยากาศของแต่ละยุคสมัย ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวโลกแปรผันตามไปด้วย  
ทั้งนี้เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแก๊สเรือนกระจกซึ่งดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้โลกอบอุ่น  ใน

บางยุคสมัยพืื้นผิวโลกมี

อุณหภุมิต่ำมากจนกลายเป็นยุคน้ำแข็ง แต่บางช่วงเวลาก็เกิดปรากฎการณ์โลกร้อนสลับกันไป ด้วยสาเหตุของวัฎจักรมิลานโควิทช์และปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น



ภาพที่ 7 กราฟแสดงอุณหภูมิและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอดีต


http://www.lesa.biz/earth/global-change/climate-change

ก๊าซที่เป็นก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas)

1. คาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)
           ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากกกว่าก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆโดยมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมมีค่าสูงถึง 381.2 ส่วนในล้านส่วนในปี 2006 (สูงกว่าปี 2005 เท่ากับ 2.0 ส่วนในล้านส่วน) คิดเป็นอัตราส่วนผสมเท่ากับ 136 เปอร์เซ็นต์ ในระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม พบมากในแถบละติจูดกลางและละติจูดสูงๆทางบริเวณตอนเหนือของซีกโลกเนื่องจากแหล่งผลิตส่วนมากอยู่ในบริเวณนี้ในขณะที่บริเวณตอนใต้พื้นที่ส่วนมากจะเป็นมหาสมุทร
รูปที่ 1 แสดงอัตราการเพิ่มเฉลี่ยของคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงปี 1995-2005   รูปที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยรายปีของคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงปี 1995-2004                 

           อัตราการเพิ่มเฉลี่ยของคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงปี 1996-2006 คิดเป็น 1.93 ส่วนในล้านส่วนต่อปีโดยอัตราการเพิ่มสูงสุดในปี 1987/1988 1997/1998 2002/2003 และ 2005 เกินกว่า 2 ส่วนในล้านส่วนต่อปีส่งผลทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในช่วงดังกล่าวประกอบกับเหตุการณ์เอนโซ (ENSO) ในปี 1997/1998 ที่ผิดปกติส่งผลทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นทั่วโลกในปี 1998

 2. มีเทน ( CH4)
          มีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากคาร์บอนไดออกไซด์ระดับของมีเทนมีค่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 ค่าเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1782 ส่วนในพันล้านส่วนในปี 2006 (ลดลง 1 ส่วนในพันล้านส่วนในปี 2005) คิดเป็นอัตราส่วนผสมเท่ากับ 255 เปอร์เซ็นต์ ในระดับก่อนยุค อุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของมีเทนพบมากแถบละติจูดกลางถึงบริเวณเขตร้อนในซีกโลกเหนือมากกว่าซีกโลกใต้ทั้งนี้เนื่องจากแหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณนี้ การเพิ่มขึ้นของมีเทนทั่วโลกเฉลี่ยในช่วงปี 1984-1990 เท่ากับ 11.5 ส่วนในพันล้านส่วนต่อปี และเพิ่มขึ้นอีกในช่วงปี 1995-2005 เท่ากับ 2.8 ส่วนในพันล้านส่วนต่อปี โดยการลดลงจะมีในบางปีคือปี 1990 และ1992 อย่างก็ตามค่าเฉลี่ยทั้ง 2 ซีกโลกพบว่ามีค่าสูงในปี 1998 ซึ่งเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้น ต่อมาในปี 2002 และ 2003 มีการเพิ่มขึ้นอีกครั้งพร้อมกับเหตุการณ์เอลนีโญ (El Nino)
อัตราการเพิ่มขึ้นและลดลงของก๊าซมีเทนเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลโดยจะมีค่าสูงในช่วงฤดูหนาวและมีค่าต่ำในช่วงฤดูร้อน
 
รูปที่ 3 แสดงอัตราการเพิ่มเฉลี่ยของมีเทนในช่วงปี 1995-2005
3. ไนตรัสออกไซด์ ( N2O)
           ไนตรัสออกไซด์ เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญซึ่งมีระดับสูงขึ้นทั่วโลก จากข้อมูลที่ส่งให้กับศูนย์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจกโลกแสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนที่มีค่าสูงขึ้นทั้ง 2 ซีกโลกโดยมีค่าสูงสุดในปี 2006 เท่ากับ 320.1 ส่วนในพันล้านส่วน ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2005 เท่ากับ 0.8 ส่วนในพันล้านส่วน อัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยในช่วงปี 1996-2006  เท่ากับ 0.76 ส่วนในพันล้านส่วนต่อปี คิดเป็นอัตราส่วนผสมเท่ากับ 119 เปอร์เซ็นต์ ในระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม

รูปที่ 4 แสดงอัตราการเพิ่มเฉลี่ยของไนตรัสออกไซด์ในช่วงปี 1980-2005
4. ฮาโลคาร์บอน (HC)
             ฮาโลคาร์บอน คือสารประกอบคาร์บอนที่ รวมตัวกับ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน หรือ ไอโอดีน   ฮาโลคาร์บอน ที่ประกอบด้วยคลอรีน เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs), ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs),คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4), เมธิลคลอโรฟอร์ม (CH3CCl3) และรวมกับโบรมีน ที่เรียกว่า ฮาลอน (halon) ซึ่งเป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการทำลายชั้นโอโซน ส่วนมากมักเกิดจากการสังเคราะห์ การลดลงของชั้นโอโซนมีผลทำให้พลังงานมีการแผ่รังสีเป็นลบ และพลังงานการแผ่รังสีสุทธิโดยฮาโลคาร์บอนจะน้อยกว่าพลังงานการแผ่รังสีตรง CFCs ต่างๆ จะถูกสลายตัวโดยแสงอาทิตย์ช่วงอัลตราไวโอเลตในชั้นสตราโตสเฟียร์และมีช่วงชีวิตยาว เช่น CFC-11 =50 ปี อย่างไรก็ตาม HCFCs และ เมธิลคลอโรฟอร์ม ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยไฮโดรเจน จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลไฮดรอกซิลในชั้นโทรโพสเฟียร์ ทำให้มีช่วงชีวิตที่สั้น (เมธิลคลอโรฟอร์มมีช่วงชีวิต ประมาณ 5 ปี) ระดับของฮาโลคาร์บอน เช่น ซีเอฟซีต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หรือมากกว่านั้นในทศวรรษที่ 1970 แต่ปัจจุบันได้หยุดการเพิ่มขึ้นแล้วเนื่องจากกฏหมายที่ห้ามการผลิตและการปล่อยสารทำลายโอโซนในพิธีสารมอนทรีออลและการแก้ไขต่างๆในเวลาต่อมา
แนวโน้มระยะยาวของ ก๊าซฮาโลคาร์บอนต่างๆ มีดังนี้
CFC-11   สูงสุดปี 1992 หลังจากนั้นเริ่มลดลง
CFC-12   ลดลงตั้งแต่ปี 1990 จนปัจจุบันมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ิ่
CFC-113  หยุดการเพิ่มตั้งแต่ปี 1990 และ มีแนวโน้มจะหยุดเพิ่มในเร็วๆนี้
HCFC-141b และ HCFC-142b ซึ่งใช้เป็นสารทดแทน CFC มีค่าเพิ่มขึ้น
CCl4         เพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 1991 หลังจากนั้นจึงมีการลดลงอย่างช้าๆส่วน
CH3CCl3  สูงสุดในปี 1992 จากนั้นลดลงอย่างชัดเจน
รูปที่ 5 แสดงอัตราการเพิ่มขึ้นและ ลดลงเฉลี่ยของฮาโลคาร์บอนในช่วงปี 1975-2005

5. โอโซนผิวพื้น ( O3)
           โอโซนเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในบรรยากาศทั้งการแผ่รังสีและกระบวนการทางเคมี การดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตในชั้นสตราโตสเฟียร์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแนวตั้งและการหมุนเวียนของอากาศที่มันดูดกลืนพลังงาน และยังดูดกลืนรังสีคลื่นยาวอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงของโอโซนผิวพื้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายกระบวนการ ขณะที่โอโซนบางส่วนในชั้นโทรโปสเฟียร์มาจากชั้นสตราโตสเฟียร์ส่วนที่เหลือเกิดจากกระบวนการทางเคมีในชั้นโทรโปสเฟียร์ตลอดถึงจากการออกซิเดชั่นของคาร์บอนมอนอกไซด์หรือไฮโดรคาร์บอน ถึงแม้ว่าจะมีการตรวจวัดโอโซนผิวพื้นมากมายในสถานที่ต่างๆ แต่ก็ยังเป็นการยากที่จะบอกถึงแนวโน้มโอโซนผิวพื้นทั่วโลกได้ในระยะยาวเนื่องจากการกระจายตัวที่ไม่สม่ำเสมอทางภูมิศาสตร์

 
รูปที่ 6 แสดงวัฐจักรการเปลี่ยนแปลงของโอโซนผิวพื้นเฉลี่ยรายฤดู
6. คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
             คาร์บอนมอนอกไซด์ไม่ใช่ก๊าซเรือนกระจกแต่มีอิทธิพลต่ออัตราส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกโดยก่อให้เกิดอนุมูลไฮดรอกซิล (OH) อัตราส่วนผสมที่ละติจูดสูงๆทางตอนเหนือเพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ค่าเฉลี่ยอัตราส่วนผสมทั่วโลกอยู่ที่ 94 ส่วนในพันล้านส่วนในปี 2006 อัตราส่วนผสมจะมีค่าสูงในซีกโลกเหนือและต่ำในซีกโลกใต้ อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนผสมของคาร์บอนมอนอกไซด์มีการกวัดแกว่งในปี 1997-1999 อัตราการเพิ่มในซีกโลกเหนือกลับมาเพิ่มอีกครั้งในปี 2002 อัตราส่วนผสมเฉลี่ยรายเดือนมีการกวัดแกว่งทางซีกโลกเหนือมากกว่าทางซีกโลกใต้ ทั้งนี้ตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้แก่ การปล่อยก๊าซจากอุตสาหกรรม การเผาไหม้มวลชีวภาพ การเคลื่อนย้ายและการผันแปรของอนุมูลไฮดรอกซิล เป็นต้น
รูปที่ 7 แสดงค่าคาร์บอนมอนอกไซด์เฉลี่ยในช่วงปี 1992-2006
7. ไนโตรเจนมอนอกไซด์ ( NO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO2)
             ไนโตรเจนออกไซด์ ( NOx, NO และ NO2)ไม่ใช่ก๊าซเรือนกระจกแต่มีส่วนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นก๊าซเรือนกระจกตัวอื่นๆ ที่สำคัญโดยการทำปฏิกิริยากับอนุมูลไฮดรอกซิล (OH) กล่าวคือ เมื่อมีNOx, CO และ HC จะถูกออกซิไดซ์ทำให้เกิดโอโซน (O3) ในชั้นใกล้ผิวโลก ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวหนึ่งที่มีผลต่อสมดุลการแผ่รังสีของโลก และทำให้เกิด OH อีกครั้งซึ่งมีศักยภาพในการเกิดออกซิเดชันในบรรยากาศ และนำไปสู่การเป็นกรด โดยทั่วไปพบว่าความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ ในซีกโลกเหนือจะสูงกว่าในซีกโลกใต้ เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์

8. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO2)
            ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่ใช่ก๊าซเรือนกระจกแต่เป็นสารตั้งต้นของละอองกรดซัลฟุริก (H2SO4) ในบรรยากาศซึ่งละอองกรดซัลฟุริกนี้เกิดจากการเปลี่ยน จากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มาเป็นอนุภาคโดยปฏิกิริยาโฟโตเคมีคัล ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นแหล่งเกิดฝนกรดและตะกอนกรดที่สำคัญนับตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมเป็นต้นมา  จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่า ความเข้มข้นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในยุโรปตอนใต้จะสูงกว่าทางตอนเหนือ ส่วนบริเวณตอนนกลางและทางตะวันออกจะมีค่าต่ำในปี 1997

                                                 http://ozone.tmd.go.th/gg06.htm