วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความหมายของ Stop motion

ความหมายของ Stop motion

 
           สตอปโมชัน (STOP MOTION) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง  ใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป  หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือการวางเรียงสิ่งของแล้วนำเสนอออกมาเป็นเรื่องราวของภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง 

เทคนิค  สต็อปโมชั่นมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
              - เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation –เรียกย่อๆ ว่า เคลย์เมชั่น / claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
              - คัตเอาต์แแอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
              - กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
             -โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง
             -แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
             -พิกซิลเลชั่น (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ


อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 

1. กล้องถ่ายรูป
2. ขาตั้งกล้อง เวลาถ่ายเฟรมควรจะนิ่ง ภาพจะได้เล่นต่อเนื่อง และเหมือนสิ่งของขยับได้จริง
3. แบบสำหรับถ่าย หรือหุ่น ตุ๊กตา
4.
ต้องมีโปรแกรมตัดต่อ VDO (สงัดใช้โปรแกรม Corel Video Studio Pro X5)
5. เพลงที่จะใช้ประกอบ VDO หรือไม่มีเพลงประกอบก็ได้ (อาจต้องใช้ภาพมากกว่า 2,000 กว่าภาพ เพื่อเล่น VDO ให้จบภายใน 1 เพลง)

หมายเหตุ เรื่องลิขสิทธิ์เพลงประกอบ Stop motion VDO

1. Youtube อนุญาตให้ใส่เพลงลิขสิทธิ์ ประกอบการเล่น VDO ได้ แต่จะมีเมลล์ส่งมาเตือนเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่ง VDO ที่มีเพลงลิขสิทธิ์ยังคงสามารถเปิดเล่นได้ใน Youtube แต่จะมีข้อความกำกับที่ VDO ของเราว่า "เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3" และหากมีการร้องเรียน หรือถูกโจมตีโดยเจ้าของลิขสิทธิ์ VDO ของเราจะถูกลบ และจะถูกคาดโทษที่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเวลา 6 เดือน หากไม่มีการทำผิดซ้ำ หรือไม่ถูกร้องเรียน หรือถูกโจมตีซ้ำ ภายในเวลา 6 เดือน ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์จะหมดวาระ แต่ถ้าหากมีการทำผิดซ้ำถึง 3 ครั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว บัญชี Youtube จะถูกปิดทันที

2. Facebook อนุญาตให้แชร์ลิ้งค์ VDO ที่มีเพลงลิขสิทธิ์ประกอบการเล่นได้ แต่ไม่อนุญาตให้ Upload VDO ตั้นฉบับที่มีเพลงลิขสิทธิ์ประกอบขึ้น Facebook หากเราต้องการ Upload VDO ต้นฉบับขึ้น Facebook และทันทีที่ Upload เสร็จ ทาง Facebook จะทำการตรวจสอบลิขสิทธิ์ทันที และหากพบว่าเราละเมิดลิขสิทธิ์ ทาง Facebook จะทำการลบ VDO นั้นทันที และจะส่งเมลล์มาเตือนเรื่องการละมิดลิขสิทธิ์ แต่จะยังไม่มีการคาดโทษใดๆ แต่หากมีการทำผิดซ้ำหลายครั้ง Facebook จะปิดบัญชีเราเช่นกัน
        เพลงลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงต่างประเทศ เราสามารถหลบเลี่ยงเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ โดยเราสามารถใช้เพลงไทย ประกอบ VDO ได้ค่ะ อาจมีการเตือนเรื่องลิขสิทธิ์บ้าง แต่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์น้อยกว่าเพลงต่างประเทศค่ะ

ขั้นตอน

1. ถ่ายภาพทีละภาพ ทีละเฟรม โดยการขยับ หรือเคลื่อนที่ทีละนิด และภาพเหล่านั้นต้องเรียงเลข และลำดับต่อเนื่องกัน
2. นำภาพที่ได้ทั้งหมดมาตัดต่อลงในโปรแกรมตัดต่อภาพ และ VDO



                      http://maymaegirl.blogspot.com/2015/06/stop-motion_28.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น