ค่านิยม12ประการ

ค่านิยม12ประการ


1. มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
   :เป็นพลเมืองดีของชาติ  เช่น  ยืนตรงเคารพธงชาติ  ร้องเพลงชาติและอธิบายความหมายของเพลงชาติได้
   :ศรัทธา ยึดมั่น ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา เช่น  เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ (ศาสนาพุทธ) และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ
   :เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์  เช่น  มีส่วนร่วมหรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
 
2. มีความซื่อสัตย์สุจริต
   :ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง
 
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
   :ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์  ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน  และสังคม  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
   :ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ตั้งใจเรียน  เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้  และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ

 5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
   :เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
   :อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย  พฤติกรรมบ่งชี้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต
 
6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
   :ประพฤติตนให้ดีงาน ยึดมั่นคำสัญญา มีจิตใจโอบอ้อมอารี  ช่วยเหลือผู้อื่น  เช่น พุดความจริง  มีน้ำใจต่อเพื่อน  ไม่ลักขโมย

 7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
    :เรียนรู้และปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ของตนเอง  ปฏิบัติตามกฎระเบียบเคารพสิทธิของผู้อื่นภายใต้ขอบเขตของกฎหมายตามหลักประชาธิปไตย เช่น รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองให้ถูกต้อง

8. มีระเบียบวินัย รักษากฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่
   :ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ วินัย  ข้อบังคับ  มีความเคารพและนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ เช่น ปฏิบัติตามระเบียบของครอบครัวและสังคมที่อาศัยอยู่ แสดงกิริยาที่เหมาะสมต่อผู้ใหญ่

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
   :ตั้งใจและรับผิดชอบ มีสติ คิดรอบคอบ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน   พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ  และปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง
   :ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ทุ่มเททำงาน  อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน 

10. รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
   :ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  รอบคอบ  มีคุณธรรม   พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น  ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น  เงิน  สิ่งของ เครื่องใช้  ฯลฯ  อย่างประหยัด คุ้มค่า  และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม  ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด  คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี  ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ
   :มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น  วางแผนการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ 

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจใฝ่ต่ำ
   :ปฏิบัติตนให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง  ละอายต่อบาปไม่กระทำความเชื่อใดๆ ยึดมั่นตามหลักของพระพุทธสาสนา  เช่น รู้จักแยกแยะความดีความชั่ว

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
   :ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทน  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ  อาสาทำงานให้ผู้อื่น
ด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทนและแบ่งปันสิ่งของ  ทรัพย์สิน และอื่นๆและช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น
   :เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม พฤติกรรมที่บ่งชี้  เช่น  ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ  เข้าร่วมกิจกรรม

ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความกระตือรือร้น

ที่มา:http://www.edtechbooks.com/index.php?lite=article&qid=42209588
      :http://www.subsettee.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น